SCP-770
770.jpg

สปอร์ของ SCP-770 ที่แช่อยู่ในน้ำที่มีทริเทียมอยู่ 12%

วัตถุ# SCP-770

ระดับ: Keter

มาตรการกักกันพิเศษ: SCP-770 ต้องถูกเก็บไว้ในภาชนะขนาด 500 มล. ซึ่งทำจากไอโซโทปของธาตุเหล็ก-56 ภาชนะดังกล่าวเปิดสู่สิ่งแวดล้อม และเก็บไว้ในตู้นิรภัยบุด้วยแผ่นฟอยล์ไอโซโทปของไอรอน-56 และตะกั่วไม่น้อยกว่า 7.5 ซม. ปัจจุบัน SCP-770 เก็บรักษาไว้ที่ ███████ ███ ██.

SCP-770 ได้รับอาหารเป็นแก๊สเทคเนตเทรียม-95 จำนวน 20 มก. ผลิตจากห้องปฎิบัติการของเตาปฎิกรณ์ ████ ██ ซึ่งจะถูกตรวจสอบ 2 ครั้งต่อปี

SCP-770 สามารถนำออกไปได้ด้วยจุดประสงค์ทางการทดลองและวิจัย แผนงานวิจัยจะต้องผ่านการอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ระดับ 4 เจ้าหน้าที่วิจัยต้องได้รับการตรวจสอบว่าปลอดภัยจากอันตรายของรังสี งานวิจัยต้องปฎิบัติในห้องปฎิบัติการที่ปลอดจากสิ่งแวดล้อม เจ้าหน้าที่วิจัยทุกคนต้องสวมถุงมือและชุดปลอดเชื้อตลอดเวลา และหลังจาก SCP-770 กลับไปยังเขตกักกันแล้ว ต้องล้างทำความสะอาดห้องปฎิบัติการ อุปกรณ์หรือวัตถุใดๆที่สัมผัสกับ SCP-770 ต้องถูกทำลายด้วยเตาพลาสมา

ภาคผนวก 770-1: จากเหตุการณ์ I-770-1 มิให้นำ SCP-770 สัมผัสหรือทำปฎิกิริยากับธาตุหนักหรือไอโซโทปของยูเรเนียม พลูโตเนียม ธอเรียม หรือ อเมริเซียม คำขออนุญาตใดๆดังกล่าวจะถูกปฎิเสธทันที ด้วยเจ้าหน้าที่ ████████ ได้เสนอข้อคิดเห็นล่วงหน้าเพื่อป้องกัน [ข้อมูลปกปิด].

รายละเอียด: SCP-770 เป็นกลุ่มของราเมือกที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับ Physarum polycephalum ลักษณะทางกายภาพคือไม่มีสีและโปร่งแสง ทั้งสามารถเกาะยึดกับผิวสัมผัสได้เกือบทุกชนิด ลักษณะที่ต่างออกไปของ SCP-770 คือหายใจโดยไม่ใช้ออกซิเจนแต่ใช้ปฎิกิริยานิวเคลียร์ที่ซับซ้อน เมื่อสัมผัสกับวัตถุใดๆ SCP-770 จะดูดซึมไอโซโทปของธาตุกัมมันตรังสีหรือธาตุกัมมันตรังสีอื่นๆที่มีน้ำหนักอะตอมมากกว่า ไอรอน-56 แต่มักกระทำกับธาตุที่หนักกว่าเสมอ และเกิดปฎิกิริยานิวเคลียร์โดยเปลี่ยนให้เป็นธาตุที่เสถียรกว่าเดิมพร้อมทั้งปล่อยพลังงาน ธาตุที่เป็นผลิตภัณฑ์ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคาร์บอน ออกซิเจนและไนโตรเจนรวมไปถึงพลังงานจะถูก SCP-770 ใช้ไปเป็นอาหาร ซึ่งใช้ในการเจริญเติบโตและสืบพันธุ์ด้วยการผลิตสปอร์ มีความเป็นไปได้สูงที่ธาตุที่ผลิตจาก SCP-770 จะเป็นไอโซโทปของธาตุกัมมันตรังสี

ระหว่างการดูดซึมและปฎิกิริยา SCP-770 จะปลดปล่อยรังสีจากการไอโอไนซ์รวมไปถึงรังสีอัลฟ่า บีต้า แกมม่า นิวตรอน และรังสีเอ็กซ์ที่มีความเข้มข้นสูง รังสีที่ปล่อยออกมาดังกล่าวมีความเข้มข้นในระดับ LD50 หลังจากผ่านไป █ นาทีต่อ SCP-770 ขณะแผ่รังสี น้ำหนัก 500 มก.

ทั้งยังปลดปล่อยความร้อนบนอุณหภูมิพื้นผิวจำนวนมหาศาลมากกว่า 1200 องศาเซลเซียส ในขณะที่ปล่อยนั้น ลักษณะจะเปลี่ยนไปเป็นสีขาวสุก วิธีการที่ SCP-770 ทนรังสีและความร้อนในระดับดังกล่าวโดยไม่ระเหิดยังเป็นปริศนา ปัจจุบันวิธีการที่เหมาะสมในที่จะจำกัดบริเวณ SCP-770 คือการใช้เตาพลาสมาชนิดพิเศษที่มีอุณหภูมิสูง 3000 องศาเซลเซียส (แม้ว่าในเหตุการณ์ I-770-1 ได้แสดงให้เห็นแล้วว่าเมื่อใช้เทอร์ไมต์ในบริเวณที่จำกัดแล้วให้ผลลัพธ์ดีเยี่ยม).

จากธาตุตัวเลือกจำนวนมาก พลังงานจากปฎิกิริยานิวเคลียร์และความเข้มข้นของการกระจายนิวตรอนที่สามารถสร้างไอโซโทปที่ไม่เสถียร SCP-770 สามารถเจริญเติบโตได้อย่างอิสระหากให้อาหารอย่างเพียงพอ SCP-770 จะเริ่มผลิตสปอร์ทุกๆ █ ชั่วโมง และเพิ่มเป็นทวีคูณในทุกๆ ██ ชั่วโมง ขณะนี้ยังไม่มีสิ่งมีชีวิตกินพืชหรือจุลินทรีย์ใดๆที่สามารถดำรงชีพขณะที่ SCP-770 ปล่อยรังสี ยังไม่มีปัจจัยที่จะจำกัดหรือคาดคะเนอัตราการเจริญเติบโตได้ หากมีการรั่วไหลหรือเลวร้ายกว่านั้น เหตุการณ์ [ข้อมูลถูกลบ] ระบุว่า ราสามารถแพร่กระจายได้รวดเร็ว และทำให้พื้นที่ในบริเวณนั้นไม่สามารถดำรงชีพได้ประมาณ █ เดือน การแก้ไขอาจจำเป็นต้องใช้อาวุธนิวเคลียร์เป็นทางเลือก อย่างไรก็ตาม SCP-770 อาจรอดจากแรงระเบิดขั้นต้น หลังจากนั้นฝุ่นละอองนิวเคลียร์จะเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตอย่างมาก

บันทึกจากเหตุการณ์ในอดีต: SCP-770 ถูกเก็บกู้จากถ้ำลึกขนาดใหญ่ใต้ █████ ในอดีตเขตสหภาพโซเวียดในปี 1957 แต่เนื่องจากขาดตัวอย่างไอโซโทปในชั้นหินซึ่งอาจมียูเรเนียม จึงสรุปเพียงได้ว่า SCP-770 ดำรงชีวิตอยู่ในถ้ำนี้เป็นเวลานานแล้ว อาจจะมากถึง █████ ปี แรงอัด การหลอมเหลวบางส่วน และก๊าซที่เกิดจากธาตุกัมมันตรังสีในถ้ำ บ่งชี้ว่า SCP-770 อาจจะเคย [ข้อมูลถูกลบ] ในช่วงเวลาบางแห่งเมื่อ ███ ปีที่ผ่านมา สัมปทานเหมืองแร่ที่ขุดเจาะเข้ามาในบริเวณนี้ในปี 1957 ส่งผลให้เกิด [ข้อมูลปกปิด] การตรวจสอบพบว่าไม่มีสปอร์ของ SCP-770 ตกค้างอยู่ในถ้ำ จึงดำเนินการทำลายถ้ำในเวลาต่อมา คาดการณ์หลังจากวิเคราะห์อัตราการเจริญเติบโตของ SCP-770 แสดงถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดการรั่วไหลไปยังด้านนอกภายในเวลา █ ปี ซึ่งเป็นเวลาที่ทางสถาบันยังไม่ค้นพบ

Unless otherwise stated, the content of this page is licensed under Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 License