SCP-573

วัตถุ# SCP-573

ระดับ: Safe Euclid

มาตรการกักกันพิเศษ: ไม่จำเป็น วัตถุจะถูกเก็บเอาไว้ในโต๊ะทำงานของดร.ล██████ วัตถุถูกเก็บล็อคเอาไว้ในตู้เก็บของที่มีการรักษาความปลอดภัยในไซต์-62 การจะนำ SCP-573 ออกมานั้นจะต้องได้รับการอนุมัติจากเจ้าหน้าที่อาวุโสสองคน ไม่อนุญาตให้ใครใช้ประโยชน์จาก SCP-573 อีกโดยที่ไม่มีนักวิจัยสำรองสองคน ไม่อนุญาตให้มีการทดสอบ SCP-573 กับเด็กโดยไม่มีความจำเป็นและจะต้องได้รับการอนุมัติจาก O5

รายละเอียด: SCP-573 เป็นขลุ่ยที่ทำจากกระดูก ดีเอ็นเอ และในการทดสอบธาตุคาร์บอนในวัตถุนั้นได้พบว่าเป็นของมนุษย์เพศหญิงที่มีอายุขัยประมาณหนึ่งพันปี เป็นส่วนของกระดูกจากโคนขา และจากขนาดนั้นอาจมาจากเด็กหญิงที่มีอายุเจ็ดถึงสิบสองปี

SCP-573 ถูกพบที่███████████████, รัฐหลุยเซียนา โดยเอเย่นที่ได้สืบสวนการหายตัวไปของพวกเด็กๆภายในหมู่บ้าน เมื่อเอเย่นได้เดินทางมาถึงที่เกิดเหตุก็ได้ถูกพวกสัตว์ป่าเข้าโจมตี สัตว์พวกนี้มีหลายชนิดและทำงานร่วมกัน เมื่อสัตว์ตายลงเอเย่นก็ถูกโจมตีจากกลุ่มเด็กที่หายตัวไปที่ถูกควบคุมโดย Darald King ที่เป็นเจ้าของ SCP-573 เอเย่น███ได้ยิงนายคิงจนตายและช่วยเหลือเด็กเหล่านั้น

การทดสอบ SCP-573 พบว่าเมื่อถูกเล่นในสถานที่ที่มีสัตว์และเด็กที่มีการตอบสนองต่อการรับรู้สูง สิ่งมีชีวิตทั้งหมดเหล่านั้นจะได้รับผลกระทบและกระตือรือร้นและเต็มใจทำที่จะทำตามคำสั่งของผู้ที่เล่น รวมทั้งบางสิ่งที่ทำให้พวกเด็กๆไม่เกิดอาการมึนงง เมื่อเครื่องดนตรีถูกใช้งาน ผู้เล่นจะอยู่ในสภาพที่มึนงงประมาณ 5 นาทีในครั้งแรกขณะที่เล่นอยู่ (เช่น เล่นขลุ่ยไปหนึ่งนาทีก็จะมึนงงไปห้านาที)

ความรู้เรื่องการเล่นขลุ่ยนั้นไม่มีความจำเป็นต่อคุณสมบัติของ SCP-573 ทุกคนที่พยายามใช้ SCP-573 จะพบว่าตนเองสามารถเล่นขลุ่ยนั้นได้ราวกับเคยเล่นมาก่อนและสามารถเล่นเพลงไหนก็ได้ตามต้องการ

ภาคผนวก: ณ วันที่ ██/██/████ SCP-573 จะไม่ถูกนำมาใช้กับมนุษย์ ตามที่เปิดเผยในไดอารี่-573, SCP-573 กระตุ้นความรู้สึกรังเกียจและความหวาดระแวงในตัวผู้ใช้ โดยมุ่งไปที่เด็กก่อนวัยเจริญพันธุ์โดยเฉพาะ ความรู้สึกเหล่านี้ค่อยๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งผู้ครอบครองพบว่าตนเองแสดงท่าทีรุนแรงและมุ่งร้ายต่อเด็กก่อนวัยเจริญพันธุ์ใดๆ ภายใต้อิทธิพลของเขา การทดลองกับ SCP-573 กับมนุษย์จึงถูกระงับอย่างไม่มีกำหนด -O5-6

Unless otherwise stated, the content of this page is licensed under Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 License